วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของสภาองค์กรชุมชนตำบลดอยงาม




                   ตำบลดอยงามมีจำนวน 14 หมู่บ้าน มีพื้นที่รวม 20,265 ไร่ มีครัวเรือน 1,843 ครัวเรือนมีประชากร 6,909 คน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีการทำนาปี นาปรัง ปลูกพริก ปลูกมะเขือเทศ มีบ่อเลี้ยงปลา มีแหล่งน้ำที่สำคัญ 4 แห่ง มีแม่น้ำแม่ฮ่าง ลำน้ำแม่ส้าน อ่างน้ำหนองควายหลวง แหล่งน้ำชลประทานขนาดกลาง ขนาดเล็ก ทรัพยากรป่าชุมชน 2 แห่ง มีขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมและสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ปัจจุบันตำบลดอยงามขาดแคลนน้ำเนื่องจากเป็นเส้นทางไหลผ่านของน้ำ ในช่วงฤดูแล้งมีการแย้งน้ำ ตำบลดอยงามซึ่งอยู่ปลายน้ำ จึงเกิดการขาดแคลนน้ำ ประกอบกับระบบชลประทานในพื้นที่ในเรื่องของการกระจายน้ำยังไม่ทั่วถึงในพื้นที่เกษตร จึงทำให้ต้องประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรม สำหรับแหล่งน้ำขนาดเล็กที่มีอยู่ในปัจจุบันก็ยังมีข้อจำกัดในการพัฒนา เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนโครงการต่อเนื่องในการนำน้ำเข้าสู่พื้นที่เกษตรกรรม ปัญหาการขาดแคลนภาชนะในการกักเก็บน้ำฝน ปัญหาการขาดแคลนการขุดบ่อน้ำตื้นในพื้นที่ดอน การจัดการด้านตลาดการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องมาจากการขาดความรู้การบริหารจัดการสมัยใหม่ การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ในการดำเนินงานกลุ่มองค์กรต่างๆ ไม่มีความแข็งแรงพอ โครงสร้างพื้นฐานของตำบลไม่ทั่วถึงและยังมีการชำรุดเสียหาย ภูมิปัญญาท้องถิ่นขาดการสืบทอด วัฒนธรรมเกิดการแปรเปลี่ยน ในการขาดความเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้อง เยาวชนห่างไกลศาสนา ผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่มองค์กรต่างๆ ในชุมชนขาดความรู้ ความเข้าใจในบทบาทการบริหารจัดการ 









             เกษตรในตำบลดอยงามมีน้ำใช้ในการเกษตร ในฤดูแล้งอย่างเพียงพอ ผลผลิตทางการเกษตรมีราคาที่น่าพอใจ เกษตรกรรู้ทันเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านการเกษตร ด้านกลุ่มอาชีพ มีการพัฒนาฝีมือให้มีมาตรฐาน
มีการจัดการบริหารที่ดี มีอาชีพเสริมเวลาว่างจากการทำงานอาชีพหลัก ด้านสาธารณสุข ประชาชนในตำบลดอยงามมีสุขภาพจิตที่ดีและพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง มีการรักษาวัฒนธรรมประเพณี อาทิ  ตานก๋วยสลาก ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ แห่แคร่ สืบทอดไปถึงชั่วลูกชั่วหลานต่อไป และมีสภาองค์กรชุมชนตำบลดอยงามที่เข้มแข็ง